มาถึงแล้ว…เจ้าเชื้อโรคร้ายกลายพันธุ์ ที่ทำให้แพร่เชื้อได้ง่ายกว่าเดิมหลายเท่า ทุกคนจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อได้ ดังนั้นจากนี้และในทุกวันหากเรารู้ทัน ระวัง และป้องกันตัวเองอย่างถูกวิธีไว้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้มากขึ้น
โอไมครอน แพร่เชื้อเร็ว
มีข้อมูลผลงานวิจัยจากประเทศญี่ปุ่น ที่พบว่าไวรัสกลายพันธุ์ สายพันธุ์โอไมครอน สามารถแพร่เชื้อได้เร็วกว่าสาย
พันธุ์เดลต้า ที่เป็นสายพันธุ์หลักซึ่งทำให้คนทั่วโลกติดเชื้อมากที่สุดอยู่ และสายพันธุ์โอไมครอน กำลังจะกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้มีคนติดเชื้อได้มากที่สุดแทนที่เดลต้า โดยมีผลการศึกษาจาก นพ.ฮิโรชิ นิชิอูระ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของโรคติดเชื้อ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้กับกระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นนั้นได้วิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรม ของผู้ติดเชื้อโอไมครอนในจังหวัดกัวเต็ง ประเทศแอฟริกาใต้ พบว่าเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน สามารถแพร่เชื้อได้เร็วขึ้นถึง 4.2 เท่า
เมื่อสิ้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กที่แสดงให้เห็นได้ชัดว่าโอไมครอน
เป็นเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ที่ติดต่อได้ง่ายจริง โดยสมัยระบาดระลอกแรกสายพันธุ์อู่ฮั่น มีผู้ติดเชื้อ 1 คนนั่งกินเหล้าเฉลิมฉลองด้วยกัน 7 คน จะมีคนติดเชื้อไป 1-2 คน พอมาสายพันธุ์เดลต้า นั่งกินเหล้ากัน 10 คน จะติดเชื้อไป 6-7 คน แต่สายพันธุ์ โอไมครอน ตัวอย่างที่เห็น นั่งเฉลิมฉลองกัน 11 คน มี 1 คนกลับจากฝรั่งเศส ติดเชื้อไปครบทั้ง 10 คนเลย เป็นการพิสูจน์ว่าเกิดการติดได้ง่ายแน่นอน
องค์การอนามัยโลกออกรายงาน ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาว่า โอไมครอนจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในยุโรปที่จะพบมากกว่า 50% ของการติดเชื้อใหม่ ภายในมกราคม 2022 รวมถึงในทวีปอื่นๆ แต่หาก growth advantage มากกว่า 30% ก็จะเป็นสายพันธุ์หลักภายในมีนาคม 2022 โดยทางแอฟริกาใต้ ได้มีการพิจารณาการกระจายของเคสติดเชื้อโอไมครอน จะพบว่ามีอัตราการตรวจพบว่าติดเชื้อในเด็ก 10-14 ปีสูงมากทั้งเพศชายและหญิง รองลงมาก็เป็นวัยทำงานอายุ 25-29 ปี นอกจากนี้ยังมีการออกมาเตือนว่า ไวรัสโอไมครอนอาจทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้น และก่อให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงตามมาได้
โอไมครอน ทำติดเชื้อซ้ำได้
จากงานวิจัยของญี่ปุ่นที่พบว่าเชื้อโอไมครอนแพร่กระจายมากและติดเชื้อได้เร็วแล้ว ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าเชื้อไวรัสนี้สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และจากการฉีดวัคซีนได้ดีขึ้นกว่าเดิม สอดคล้องกับข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์แอฟริกาใต้ ที่ได้เผยงานวิจัยที่ชี้ว่าเชื้อโอไมครอนมีโอกาสสูงขึ้น ในการทำให้คนที่เคยป่วยเป็นโควิดแล้ว กลับมาติดเชื้อซ้ำอีกครั้ง ข้อมูลนี้มาจากสำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานเมื่อต้นเดือนธันวาคม จากผลวิจัย DSI-NRF Centre of Excellence in Epidemiological Modelling and Analysis ของแอฟริกาใต้ ที่พบว่าเชื้อกลายพันธุ์ สายพันธุ์โอไมครอน ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะกลับมาติดเชื้อซ้ำได้ถึง 3 เท่า โดยงานวิจัยชิ้นนี้ถือเป็นการยืนยันข้อมูลดังกล่าว ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลของผู้ติดเชื้อ 2.8 ล้านรายในแอฟริกาใต้ ระหว่างเดือนมี.ค. 2563 จนถึงวันที่ 27 พ.ย. 2564 พบว่ามีถึง 35,670 ที่คาดว่าเป็นการกลับมาติดเชื้อซ้ำอีกครั้ง
ซึ่งในเชื้อกลายพันธุ์ตัวก่อนหน้านี้ ทั้งสายพันธุ์เบตาและเดลตา พบว่าผู้ที่ป่วยด้วยเชื้อ 2 สายพันธุ์นี้มีอัตราการติดเชื้อซ้ำต่ำกว่าเชื้อดั้งเดิมอย่างสายพันธุ์อู่ฮั่น แต่สำหรับเชื้อกลายพันธุ์ตัวล่าสุดอย่าง”โอไมครอน” กลับมีอัตราการติดเชื้อซ้ำที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อช่วงกลางเดือนพ.ย. ทำให้แอฟริกาใต้มีผู้ติดเชื้อต่อวันอยู่ที่ราวๆ 300 ราย แต่จากนั้นก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จน มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงถึงเกือบหนึ่งหมื่นราย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่ชัดเจนว่าแม้จะฉีดวัคซีน 2 เข็ม ไม่ว่ายี่ห้ออะไร ก็ยังสามารถติดเชื้อกันได้ จึงจำเป็นจะต้องอาศัยเข็ม 3 ในการยกระดับภูมิต้านทานที่สูงขึ้น เพื่อใช้ในการต่อสู้ ผู้ที่ได้วัคซีน 3 เข็มมานานแล้ว ภูมิต้านทานจะตกลงตามกาลเวลา เมื่อภูมิต้านทานตกลงก็จะติดเชื้อได้ รวมทั้งผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน มีภูมิต้านทานทั้ง 2 ระบบ T และ B cells อย่างดี ก็ยังติดเชื้อซ้ำได้ แต่อาการของโรคก็จะน้อยลง
โอมิครอน ตรวจจับได้ยากกว่า
มีข้อมูลอีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจ จาก ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยาสถาบันไบโอเทค ซึ่งได้ยกผลวิจัยจาก “University of Geneva” ที่ได้ใช้ ATK ตรวจหาโอมิครอน ซึ่งพบว่าสายพันธุ์นี้ตรวจพบได้ยากกว่าสายพันธุ์อื่น โดยนักวิจัยจาก University of Geneva ทำการทดสอบประสิทธิภาพของ ATK 7 ยี่ห้อที่มีการใช้งานในสวิตเซอร์แลนด์ ในการตรวจจับไวรัสโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน เปรียบเทียบกับ สายพันธุ์ต่างๆก่อนหน้านี้ พบว่า ATK ทั้ง 7 ยี่ห้อสามารถตรวจโอมิครอนได้ แต่ด้วยประสิทธิภาพที่ค่อนข้างต่างกัน และเมื่อเทียบกับไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ โอมิครอนดูเหมือนว่าจะตรวจจับได้ยากกว่า ซึ่งมีผลที่พบว่า ATK บางยี่ห้อถึงแม้จะสามารถตรวจโอมิครอนได้ แต่อาจต้องใช้ไวรัสปริมาณมากถึงจะได้ผลบวกอีกด้วย
กระทรวงสาธารณสุขเน้นย้ำ มาตรการ VUCA
ข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาแถลงข่าวและเน้นย้ำประชาชนให้ป้องกันตัวเองอย่างเคร่งครัด โดย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โรคโควิด-19 เมื่อสิ้นปี 64 ที่ผ่านมา โดยยอมรับว่า หลังเทศกาลปีใหม่ 2565 จะเกิดการแพร่ระบาดอีกรอบเนื่องจากสายพันธุ์โอมิครอนสามารถแพร่ได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา จึงเน้นย้ำเรื่องมาตรการและการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะมาตรการ WFH ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศแจ้งเตือน ระดับ 3 จาก 5 ระดับนั้น ได้เน้นย้ำและขอความร่วมมือประชาชนตามมาตรการ VUCA นั่นคือ ภาครัฐฉีด Vaccine ให้ครอบคลุมประชากรในประเทศ 70% หรือ 100 ล้านโดส ประชาชนใช้มาตรการ Universal Prevention ป้องกันตนเองสูงสุดกับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อลดการติดเชื้อ ลดการระบาด สถานบริการ/สถานที่ต่างๆ ใช้มาตรการ Covid-free Setting สร้างพื้นที่ปลอดภัยจากเชื้อโควิด และใช้ ATK ตรวจคัดกรองในชุมชน สถานที่เสี่ยง เพื่อป้องกันโควิด-19 ทุกสายพันธุ์ สวมหน้ากากอนามัยแบบ 100% ขณะอยู่กับผู้อื่น และรีบไปฉีดวัคซีนทั้งเข็ม 1, 2 และเข็ม 3 เพื่อลดอาการป่วยหนัก รวมถึงชะลอการเดินทางไปต่างประเทศโดยไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการร่วมกิจกรรมที่มีคนจำนวนมาก โดยเฉพาะสถานที่ระบบปิด อากาศไม่ถ่ายเท รวมถึงเลี่ยงสัมผัสใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยง ขณะผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามมาตรการ Covid Free Setting อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะห้องอาหารปรับอากาศ ฉีดวัคซีนและตรวจหาเชื้อพนักงาน และคัดกรองลูกค้า
สู้เชื้อกลายพันธุ์ เริ่มป้องกันที่จมูก
เมื่อโอไมครอนเข้าใกล้เรามากขึ้นทุกทีแถมขณะนี้ก็มีคนไทยติดเชื้อนี้หลายร้อยคนแล้ว เราคงจะไม่ยอมให้ตัวเองและคนที่เรารักต้องมาเสี่ยงกับเชื้อกลายพันธุ์ที่มองไม่เห็นนี้ ฉะนั้นจึงอยากให้ทุกคนระมัดระวังและป้องกันไม่ให้ตัวเองเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสร้าย ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงไปสถานที่เสี่ยง สถานที่ปิด หรือมีคนพลุกพล่าน อยู่ให้ห่างจากคนอื่นๆ อย่างน้อย 1 เมตร รวมถึงหาตัวช่วยป้องกันจมูกไม่ให้สูดไวรัส
เพราะจมูกคือด่านแรกที่เราจะสูดอากาศที่มีเชื้อโรคเข้าไปโดยที่มองไม่เห็น ไม่ว่าจะเป็นเชื้อหวัด เชื้อไข้หวัดใหญ่ หรือไวรัสอื่นๆ จึงขอแนะนำให้ป้องกันตัวเองด้วยสเปรย์พ่นจมูกชนิดผง ป้องกันเชื้อโรคและไวรัสในอากาศ นาซัลลีซ ทราเวล ( Nasaleze Travel) ซึ่งผลิตจากสารสกัดจากธรรมชาติ ที่จะเปลี่ยนลักษณะเป็นเจลในโพรงจมูก เพื่อดักจับและป้องกันเชื้อโรค ไวรัส ที่แพร่กระจายในอากาศ ไม่ให้เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนช่วยทำให้เชื้อไวรัสมีฤทธิ์อ่อนลง ทั้งยังช่วยลดอาการรุนแรงของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ได้ ลดการนอนโรงพยาบาลและลดระยะเวลาในการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจได้ ด้วยคุณสมบัติพิเศษและผ่านการรับรองมาตรฐานในระดับสากล ดังนี้
- ผลิตจากสารสกัดธรรมชาติ 100% โดยเป็นผงเซลลูโลส(HPMC) 93% จากเปลือกสนอังกฤษ ผงกระเทียมป่ายุโรป 5% และผงเปปเปอร์มิ้นท์ 2%
- มีคุณสมบัติเปลี่ยนผงเป็นเจลในจมูก ช่วยดักจับและป้องกันไวรัสไม่ให้เข้าสู่เยื่อบุโพรงจมูก
- ทำให้เชื้อโรคและไวรัสมีฤทธิ์อ่อนลง ลดความเสี่ยงติดเชื้อรุนแรง มีผลการศึกษายืนยันประสิทธิภาพในการป้องกันไข้หวัด ช่วยลดระยะเวลาเจ็บป่วย ลดความรุนแรงทั้งไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ได้
- ผ่านการทดสอบทางคลินิก ไม่มีส่วนผสมของยา ไม่มีผลข้างเคียง อ่อนโยนปลอดภัยต่อเด็กวัย 3 ปีขึ้นไป คุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ให้นมบุตร และผู้สูงอายุ
- อนุมัติโดยอย. มีใบอนุญาตนำเข้าเครื่องมือแพทย์ เลขที่ GBR6304847
- ได้รับใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์จาก อย. เลขที่ ฆพ.1059/2564
- จำหน่ายไปแล้วกว่า 20 ล้านขวด ใน 50 ประเทศทั่วโลก มีอย. ใน 40 ประเทศ
- พ่นเพียง 1 ครั้ง ออกฤทธิ์เร็วภายใน 2 นาที นาน 6 ชั่วโมง พ่นวันละ 2-3 ป้องกันไวรัสได้ทั้งวัน
- ควรใช้สเปรย์พ่นจมูกก่อนออกจากบ้าน ต้องเดินทาง หรือเมื่อต้องออกไปอยู่ท่ามกลางกลุ่มคนหนาแน่น หรือที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากไวรัส และแบคทีเรีย
- หนึ่งขวดสามารถสเปรย์ได้ถึง 200 ครั้งหรือใช้ได้ประมาณ 30-50 วัน
#ติดเชื้อทางเดินหายใจ #หวัด #ไข้หวัดใหญ่
#หวัดป้องกันได้ #เชื้อโรคลอยในอากาศ
#นาซัลลีซ #สเปรย์พ่นจมูก #ไม่ใช่ยา #ดักจับเชื้อโรค
#นาซัลลีซทราเวล #ExtraProtection #Germblocker #Invisible_mask #ป้องกันดีกว่ารักษา
Line : @nasaleze (มี@ ด้านหน้าด้วยนะคะ) หรือ คลิก https://lin.ee/Iy3ufdh