คุณแม่ตั้งครรภ์รู้ไหม? ยิ่งใกล้คลอดเท่าไร ยิ่งต้องสังเกตอาการตัวเองให้มากขึ้น ทั้งอาการที่แสดงว่าใกล้คลอด หรือสัญญาณที่บอกภาวะแทรกซ้อนอันตรายต่างๆ ฉะนั้นคุณแม่ที่กำลังท้องแก่ ต้องหันมาดูและสังเกตอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้ ซึ่งหากพบเห็นเมื่อใด ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
สัญญาณแบบนี้ผิดปกติ
- มีเลือดออกทางช่องคลอด
อาการนี้มีสาเหตุเกิดได้หลายอย่าง ทั้ง การติดเชื้อในช่องคลอด การติดเชื้อในปากมดลูก หรือการมีภาวะรกเกาะ
ต่ำ ซึ่งเป็นภาวะที่รกบางส่วนหรือทั้งหมด เกาะอยู่ที่ตอนล่างของมดลูก แทนที่จะเกาะที่ผนังตอนบนของมดลูก ทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอดแต่ไม่เจ็บครรภ์ อีกสาเหตุที่พบบ่อยคือ รกลอกตัวก่อนกำหนด ทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดหน้าท้อง หน้าท้องแข็งตึงหรือกดแล้วเจ็บ เนื่องจากครรภ์เป็นพิษหรือถูกกระแทกบริเวณท้องอย่างรุนแรง จะทำให้มีเลือดไหลออกในโพรงมดลูก อาจทำให้ลูกในครรภ์ขาดออกซิเจนไปเลี้ยง จนเสียชีวิตได้
ฉะนั้นหากคุณแม่ตั้งครรภ์มีเลือดออกทางช่องคลอด ไม่ว่าจะอายุครรภ์เท่าไร ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะเป็นสัญญาณหนึ่งที่แสดงถึงอันตรายทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อย
- ลูกดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้น
ส่วนใหญ่ในขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 20 เป็นต้นไป และควรนับการดิ้นของลูกไว้
ตั้งแต่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ โดยนับวันละ 3 เวลา หลังอาหารประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งปกติลูกในครรภ์จะต้องดิ้นมากกว่าวันละ 10 ครั้ง โดยจะดิ้นแตกต่างกันไป บางคนดิ้นมากในช่วงเช้า หรือลูกน้อยบางคนดิ้นมากเวลากลางคืน ฉะนั้นหากในช่วงใกล้คลอด คุณแม่ลองสังเกตและนับการดิ้นแล้วลูกดิ้นน้อยลง เช่น ถ้านับการดิ้นหลังอาหารแล้วไม่ถึง 3 ครั้ง นับต่อไปอีก 1 ชั่วโมง ก็ยังไม่ถึง 3 ครั้ง อาจต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อปรึกษาและดูความผิดปกติของลูกน้อย
เพราะการที่ลูกในท้องไม่ดิ้น อาจเกิดจากมีภาวะอันตรายบางอย่าง หรือเสียชีวิตก่อนคลอดได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรหมั่นนับและสังเกตการดิ้นของลูกทุกวันสม่ำเสมอ
- มีน้ำเดิน
อาการน้ำเดิน หมายถึงการที่มีน้ำใสๆ ไหลออกมาทางช่องคลอด คล้ายน้ำปัสสาวะ (แต่ไม่ใช่น้ำปัสสาวะ) ซึ่งเป็นอาการที่บอกว่า ถุงน้ำคร่ำของคุณแม่ที่ห่อหุ้มลูกน้อยในครรภ์อยู่แตกหรือรั่ว โดยอาการน้ำเดินจะมีเฉพาะน้ำไหลออกมา ไม่เป็นมูก หรือว่าตกขาว ซึ่งสามารถบอกได้ถึงอาการคลอดก่อนกำหนด อาการใกล้คลอด และอื่นๆ
หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการน้ำเดินเมื่อไร ต้องรีบไปพบแพทย์ เพราะถ้าหากทิ้งไว้ เชื้อโรคอาจลุกลามเข้าไปในโพรงมดลูกจนทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นอันตรายได้
- ตัวบวม ความดันโลหิตสูง
อาการตัวบวม มือเท้าบวม มักเกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษ ที่มักพบในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด และคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง ซึ่งหากคุณแม่มีอาการตัวบวม สังเกตเห็นหลังเท้าตัวเองบวม มือบวม นิ้วบวม ปวดศีรษะ โดยเฉพาะอาการปวดศีรษะบริเวณหน้าผากและท้ายทอย หรือคุณแม่บางคนอาจมีอาการบวมที่ใบหน้าหรือแขนขาด้วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะเป็นอาการที่บ่งชี้ถึงอันตราย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะเป็นอันตรายถึงชีวิตทั้งคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ *
- ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่
เป็นอีกหนึ่งอาการแสดงของครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์
โดยอาการนำของครรภ์เป็นพิษ คืออาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่ ร่วมกับสังเกตเห็นอาการบวมบริเวณต่างๆ แต่หากคุณแม่มีแค่อาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว หรือจุกแน่นลิ้นปี่ หรือมีไข้ ก็ต้องรีบมาพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอดูอาการอื่น เพื่อให้คุณหมอรักษาหรือดูแลภาวะครรภ์เป็นพิษและอาการต่างๆ ได้ทันทีเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงอันตราย
และไม่ว่าคุณแม่จะมีอาการผิดปกติใดๆ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์และกระทบต่อสุขภาพคุณแม่จนมีอาการที่ร้ายแรงมากขึ้นได้
- ปวดท้องมาก ท้องแข็ง
หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดท้องมาก ปวดบริเวณท้องน้อย มดลูก หรือหัวหน่าว มีอาการท้องแข็งนาน
ท้องแข็งบ่อยกว่าปกติ หรือท้องแข็งตึงทุกครึ่งชั่วโมงติดๆ กัน เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง ซึ่งเกิดจากการที่มดลูกบีบรัดตัวแข็งเป็นก้อนกลม ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บตึง ท้องแข็งนาน ทั้งที่ยังไม่ใกล้กำหนดคลอด ต้องรีบไปพบแพทย์ เพราะหากทิ้งไว้นาน จะทำให้ปากมดลูกเปิด จนเกิดการคลอดก่อนกำหนด และอันตรายอื่นๆ ได้
โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย คือ การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือบางกรณีเกิดได้จากการร่วมเพศอย่างรุนแรง คุณแม่ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ส่งผลทำให้มดลูกเกิดการหดรัดตัว ซึ่งทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนดหรืออาจแท้งได้ หรือคลอดก่อนกำหนดได้
อาการใกล้คลอด
- เจ็บท้องเตือน
คุณแม่จะมีอาการปวดท้อง มีอาการเจ็บท้องที่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอ คือจะเป็นๆ หายๆ มีอาการเจ็บท้องห่างๆ เช่น
ชั่วโมงละครั้ง ความรุนแรงในการปวดไม่มาก มีอาการปวดท้องน้อย ที่หากให้ยาแก้ปวด อาการปวดก็จะหาย และมดลูกหยุดบีบตัว และปากมดลูกจะไม่เปิดขยายเพื่อเตรียมพร้อมคลอดลูกน้อยเหมือนกับอาการเจ็บท้องคลอดจริง
- มีมูกขาวข้นออกทางช่องคลอด
การมีมูกขาวข้นออกทางช่องคลอด เป็นอาการก่อนคลอด ที่เป็นสัญญาณบอกว่าคุณแม่ใกล้คลอดแล้ว โดยปากมดลูกจะเริ่มเปิด ทำให้มูกที่อุดอยู่บริเวณปากมดลูกจะหลุดและไหลออกมาทางช่องคลอด มูกที่ออกมาจะเป็นสีขาวมีลักษณะเหนียวข้น และมักจะหลุดออกมาในช่วงก่อนการคลอดประมาณ 1-2 สัปดาห์
- มีมูกเลือด
หากคุณแม่มีมูกเลือดออกทางช่องคลอดโดยเฉพาะใกล้กำหนดคลอดแล้ว ถือว่าอยู่ในภาวการณ์เจ็บครรภ์
คลอดจริง หรือกำลังจะคลอดลูกน้อยแล้ว เพราะในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ปกติปากมดลูกของคุณแม่จะมีมูกเลือด ที่มีผลช่วยป้องกันสิ่งแปลกปลอมต่างๆ แต่เมื่อคุณแม่ใกล้คลอดปากมดลูกจะเริ่มเปิดและขยาย ทำให้เส้นเลือดที่บริเวณปากมดลูกมีการแตก จึงมีมูกเลือดไหลออกมา แสดงว่าร่างกายคุณแม่พร้อมคลอดเจ้าตัวน้อยออกมาดูโลกแล้วนั่นเอง
- ถุงน้ำคร่ำแตก น้ำเดิน
หมายถึงคุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำคร่ำไหลซึ่งเป็นน้ำใสๆ ไม่มีกลิ่น ไหลออกจากช่องคลอด อาจจะไหลพรวดออกมาฃ
หรือค่อยๆ ไหลออกมาก็ได้ เกิดจากการแตกของถุงน้ำคร่ำ ยิ่งหากอยู่ในช่วงที่อายุครรภ์ครบกำหนด แสดงว่าร่างกายคุณแม่เริ่มเข้าสู่กระบวนการพร้อมคลอดแล้ว โดยอาการน้ำเดิน ถุงน้ำคร่ำแตก บอกถึงมดลูกเริ่มบีบตัวหดเล็กลง เพื่อบีบให้ศีรษะของลูกน้อยเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำเดินแล้วส่วนใหญ่มักจะคลอดลูกน้อยภายใน 12 ชั่วโมง จึงต้องรีบไปหาคุณหมอที่โรงพยาบาลทันที
- เจ็บท้องคลอดจริง
เป็นอาการเจ็บท้อง ปวดท้อง และท้องแข็งตึงที่แสดงถึงอาการพร้อมที่คลอดลูกน้อย โดยคุณแม่จะรู้สึกปวดท้องคลอดสม่ำเสมอ เช่น ปวดทุก 10 นาที เจ็บถี่ขึ้น จากปวดทุก 10 นาที เป็น 5 นาที คุณแม่จะปวดรุนแรงและเจ็บนานขึ้นเรื่อยๆ โดยคุณแม่จะรู้สึกเริ่มเจ็บปวดจากส่วนบนของมดลูกหรือยอดมดลูกก่อน แล้วเจ็บร้าวลงไปด้านล่าง ท้องแข็งตึงจนจนถึงส่วนแผ่นหลัง ยิ่งเดินหรือเคลื่อนไหวก็จะเจ็บมากขึ้น มดลูกมีการบีบตัว ปากมดลูกจะเปิดขยาย มีอาการเจ็บสม่ำเสมอต่อเนื่องและถี่ขึ้น จนกว่าคุณแม่จะคลอดลูกน้อยมาลืมตาดูโลก อาการเจ็บต่างๆ ก็จะหายไป
แม่ท้อง พร้อมให้นมแม่หรือยัง? มาเช็กกันดูว่าคุณแม่ตั้งครรภ์พร้อมที่จะให้นมลูกน้อยหลังคลอดทันทีหรือไม่ ด้วยการสังเกตและเตรียมพร้อมไว้ดังนี้
- มีอาการคัดตึงเต้านม มีน้ำนมไหลออกมาบ้างแล้ว
- สุขภาพเต้านมดี ไม่มีหัวนมบอด หัวนมสั้น หรือแก้ไขทุกอย่างแล้ว
- เตรียมพร้อมอุปกรณ์ให้นมแม่หลังคลอด เช่น เครื่องปั๊มนม ถุงเก็บน้ำนม และอื่นๆ
- ใช้แผ่นเจลให้ความชุ่มชื้น มัลติ-แมม คอมเพรซ
- เพิ่มความชุ่มชื้น ปรับสมดุลผิวบริเวณเต้านมและหัวนม ตั้งแต่ก่อนคลอด
- ป้องกันหัวนมแตกแห้ง ป้องกันหัวนมระคายเคือง อักเสบ บวม
- สารสกัดจากธรรมชาติ ปลอดภัยสูง ให้นมลูกน้อยกินได้ ไม่ต้องเช็ดออก
> เคล็ดลับขจัดอุปสรรค ให้นมแม่<
หากบำรุงแค่น้ำนมแม่แต่ไม่แก้ปัญหาอื่นๆ เช่น เจ็บหัวนม หัวนมแห้งแตก ลูกน้อยอาจจะไม่ได้กินนมแม่ต่อเนื่องหรือยาวนาน อาหารที่กินไปก็ไม่ได้ประโยชน์ เราจึงขอแนะนำให้คุณแม่ดูแลเต้านมให้พร้อมเสมอเพื่อลูกน้อย ด้วยแผ่นเจลให้ความชุ่มชื้น มัลติ-แมม คอมเพรซ เติมความชุ่มชื้นให้หัวนมแม่ บรรเทาอาการเจ็บหัวนม หัวนมแตก ช่วยสมานแผล
แผ่นเจล Multi-Mam Compresses (มัลติ-แมม คอมเพรซ) ป้องกัน และบรรเทาอาการหัวนมแตก ติดเชื้อ ด้วยนวัตกรรมใหม่ 2QR-complex (ทูเคียว- คอมเพล็กซ์) ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร จากเนเธอร์แลนด์ ที่คิดค้นและพัฒนาสารสกัดจากธรรมชาติ เพื่อ
☑️ บรรเทาอาการ เจ็บหัวนม หัวนมแตก ลดอาการอักเสบ ปวด บวม ช่วยสมานแผล
☑️ ป้องกันการติดเชื้อบริเวณหัวนม และเต้านม
☑️ ปรับสภาพผิว หัวนมแห้ง ลอกเป็นขุย เติมความชุ่มชื้นสู่ผิว ซึมซาบเร็ว
☑️ สารสกัดจากธรรมชาติ ปลอดภัยสูง ลูกกินได้ ไม่ต้องเช็ดออก
☑️ ควรเริ่มใช้ช่วงตั้งครรภ์ใกล้คลอดและหลังคลอด ก่อนให้นมลูกน้อย
☑️ ใช้ง่าย พกพาสะดวก เพียงนำแผ่นเจลมาปิดบริเวณหัวนมแม่วันละ 1-2 ครั้ง
ดูแลผิวหนัง ป้องกันบรรเทาหัวนมแตก มอบคุณค่าน้ำนมแม่แก่ลูกน้อย
#สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
#มัลติแมม #MultiMam #ทูคียว #2QRcomplex #หัวนมแตก #เจ็บหัวนม #คุณแม่ตั้งครรภ์ #คุณแม่ให้นมบุตร
#คลีนิคเด็กครบวงจร #คลีนิคนมแม่ #คาเฟ่เด็ก #ศูนย์พัฒนาการเด็กป้องกันและบรรเทาอาการหัวนมแตก
สนใจปรึกษาหรือสอบถามรายละเอียดสินค้าได้ที่
Line : @v_momkid
Facebook : Multi-Mam Thailand
Tel : 02-2874956