Echopulse Thailand Thyroid

เช็คลิสต์ 5 โรคของไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งบริเวณคอ มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์นี้จะเป็นส่วนสำคัญในการปรับสมดุลเมตาบอลิซึมของร่างการ

โรคของต่อมไทรอยด์มีได้หลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีการรักษาที่แตกต่างกัน ดังนั้นโดยทั่วไป เราจะแบ่งกลุ่มโรคของไทดรอยด์ได้ดังนี้

  1. ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป หรือที่เรียกว่า ไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroid) ในภาษาไทย บางทีก็เรียกง่าย ๆ ว่าไทรอยด์เป็นพิษ

เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ ก็จะกระตุ้นระบบเผาผลาญในร่างกาย จนทำให้เกิดความร้อนในร่างกายได้ ดังนั้นผู้ป่วยมักมีเหงื่อออกมากผิดปกติ ขี้ร้อน เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด กระสับกระสาย ใจสั่ง ในบางครั้งอาจมีแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วยได้ ในกรณีที่เป็นต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจพบลักษณะเฉพาะคือตาโปน มีปื้นที่หน้าขา หรือคลำได้ต่อมไทรอยด์ขนาดใหญ่กว่าปกติได้ ภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยา กลืนแร่ เป็นต้น

  1. ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป หรือที่เรียกว่า ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroid)

เมื่อร่างกายมีระดับต่อมไทรอยด์น้อยกว่าปกติ จะทำให้การทำงาน การเผาผลาญของเซลล์ในร่างกายลดน้อยลง จึงพบอาการง่วงนอน อ่อนเพลีย ขี้หนาว น้ำหนักเพิ่ม ผมร่วงผิดปกติ ผิวแห้ง ความจำไม่ดี หรือในบางกรณีอาจมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยได้ ในกรณีที่เป็นต่อเนื่อง อาจมีอาการท้องผูก ตะคริว มีหน้าบวมตัวบวม หรือรอบตาบวมได้ ภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาเป็นหลัก

  1. ภาวะที่ต่อมไทรอยด์มีการอักเสบ (Thyroiditis) สามารถแบ่งย่อยได้เป็นอีก 2 ประเภท
    1. ต่อมไทรอยด์อักเสบชนิดกึ่งฉับพลัน (Subacute thyroiditis) ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บคอ อ่อนเพลีย มีไข้ รู้สึกเหนื่อยง่าย กดเจ็บบริเวณต่อมไทรอยด์ที่คอ ภาวะนี้มักเป็นหลังจากมีการติดเชื้อไวรัส
    2. ต่อมไทรอยด์อักเสบชนิดเรื้อรัง (Chronic thyroiditis) ภาวะนี้ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการ แต่อาจตรวจพบคอโตโดยกดไม่เจ็บได้ และก้อนนี้ก็อาจยุบได้เองด้วย ภาวะนี้สามารถวินิจฉัยได้จากการเจาะเลือด และมักเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันตัวเองผิดปกติ สร้างสารต่อต้านของตัวเอง เมื่อทิ้งไว้ก็อาจทำให้มีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดต่ำลงได้
  2. ต่อมไทรอยด์โตผิดปกติ (Goiter) หรือที่เรียกว่าต่อมไทรอยด์โตแบบไม่เป็นพิษ สามารถแบ่งย่อยได้เป็น
    1. ต่อมไทรอยด์โตชนิดมีก้อนเดียว (Simple goiter)
    2. ต่อมไทรอยด์โตชนิดมีหลายก้อน (Multinodular goiter)

ภาวะนี้สามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจร่างกาย การอัลตร้าซาวน์ต่อมไทรอยด์ หรือการเจาะตรวจชิ้นเนื้อทางห้องปฏิบัติการเพื่อบ่งบอกชนิดของก้อนที่คอนี้ การรักษาจึงมักเพื่อความสวยงามเป็นหลัก ในอดีตสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อทำลายก้อนต่อมไทรอยด์ให้เล็กลงได้ โดยไม่ต้องผ่าตัด

  1. มะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid cancer)

สามารถพบมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้ทั้งในวัยกลางคน และในผู้สูงอายุ มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มาด้วยเรื่องมีก้อนที่คอ ค่อนข้างแข็ง ไม่เจ็บ แต่ในกรณีที่ปล่อยไว้นาน ก้อนอาจโตและไปกดเบียดอวัยวะอื่น ๆ ทำให้กลืนลำบากได้ โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้จากการเจาะดูดเซลล์ของต่อมไทรอยด์ไปตรวจเพิ่มเติมทางพยาธิวิทยา

จะเห็นได้ว่า โรคของต่อมไทรอยด์มีหลากหลายรูปแบบ เมื่อมีอาการสงสัย ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อให้การวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

เมื่อไหร่ควรได้รับการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์

  • มีอาการของฮอร์โมนไทรอยด์สูงหรือต่ำเกินไป ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น
  • มีประวัติเคยตรวจเลือดแล้วพบความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมนมาก่อน
  • มีประวัติได้รับการรักษาโรคไทรอยด์มาก่อน เช่น การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การกลืนแร่ไอโอดีน
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไทรอยด์
  • เป็นเบาหวานชนิดที่ 1
  • มีภาวะมีบุตรยาก
  • คอพอกหรือมีก้อนที่คอ

 

Thyroid

ECHOPULSE® อีกหนึ่งทางเลือกในการตรวจและรักษาไทรอยด์ (Benign Thyroid nodules)

ด้วยระบบการทำงานด้วยเทคนิค Echotherapy (การอัลตราซาวด์เพื่อหาตำแหน่งและตรวจรักษาโดยใช้คลื่นอัลตราซาวด์ความเข้มข้นสูง ด้วยหลักการใช้ความร้อนสลับกับความเย็น) ในการส่งผ่านความร้อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจง (Targeted tissue) โดยไม่ต้องผ่าตัด (Non invasive surgery)

Echopulse smooth

Echotherapy technology คืออะไร?

              เทคนิคการรักษารูปแบบใหม่ในการลดขนาดก้อนไทรอยด์ โดยใช้คลื่นอัลตราซาวด์ความเข้มข้นสูง (HIFU) พร้อมด้วยการมองเห็นทุกขั้นตอนการรักษาผ่านหน้าจอ monitor แบบ real time ทำให้แพทย์สามารถติดตามผลการรักษาได้อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้แพทย์ยังสามารถวางแผนและออกแบบการตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นของการรักษา ตลอดจนควบคุมการรักษาได้อย่างแม่นยำจนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการรักษาด้วยระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ (Working automatically by robotic technology)

ก้อนไทรอยด์จะถูกลดขนาดให้เล็กลงด้วยระบบการรักษาแบบ Sequential treatment (Pause & Pulse)  โดยการใช้ความร้อนจากคลื่นอัลตราซาวด์สลับกับการใช้ความเย็นจากระบบ Cooling system เพื่อป้องกันผลข้างเคียงต่อผิวหนังหรืออวัยวะข้างเคียงส่วนอื่นๆ ที่เกิดจากความร้อนที่ใช้ในการรักษา

 

ก้อนไทรอยด์แบบใดที่สามารถรักษาด้วยเครื่อง ECHOPULSE®

           ก้อนไทรอยด์แบบไม่เป็นพิษ (Benign thyroid nodule) ทั้งแบบชนิดก้อนเดียว (Single thyroid nodule) และ หลายก้อน (Multinodular goiter) โดยต่อมไทรอยด์ยังมีการสร้างฮอร์โมนได้ปกติ และต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธี ultrasound หรือ Fine needle aspiration (FNA) biopsy แล้วว่าไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นก้อนมะเร็ง หรือ มะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid cancer)

ผลการรักษาก้อนไทรอยด์ด้วยเครื่อง ECHOPULSE®

              มีผลการศึกษาวิจัยรองรับประสิทธิภาพการลดขนาดก้อนไทรอยด์ (Benign thyroid nodule) ด้วยวิธี Echotherapy technology  โดยจากการศึกษาพบว่า “สามารถลดขนาดก้อนไทรอยด์ลงได้ถึงร้อยละ 70.42 ในระยะเวลา 2 ปี และพบการกลับมาโตซ้ำ (regrowth) ของก้อนไทรอยด์ในอัตราที่ต่ำมาก การรักษาด้วยวิธี Echotherapy technology  จึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ทั้งในฝั่งยุโรป และเอเชีย

ประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับจากการรักษาด้วย ECHOPULSE®

  • การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด หมดกังวลเรื่องการเกิดแผล
  • รักษาและกลับบ้านได้ในวันเดียว ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • ป้องกันการเกิดผลข้างเคียงต่อผิวหนัง,อวัยวะข้างเคียงและฮอร์โมนต่างๆ
  • ฟื้นตัวได้เร็ว
  • คุณภาพชีวิตดีขึ้น กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ECHOPULSE® ปลอดภัยหรือไม่

              เนื่องจากการใช้ Echotherapy technology ไม่ใช่การผ่าตัด ดังนั้น จึงลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด ความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนและการสูญเสียฮอร์โมนหลังผ่าตัด นอกจากนี้ เนื่องจากไม่มีแผลจากการผ่าตัด จึงไม่ต้องนอนโรงพยาบาล และสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

ECHOPULSE® รักษากับแพทย์แผนกใด

              Echotherapy technology  จัดได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยแพทย์ที่รักษาจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษเรื่องเทคนิคการรักษาด้วย Echotherapy โดยเฉพาะ ดังนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโสต ศอ นาสิก จะเป็นผู้ดูแลและดำเนินการรักษาหลัก

Echopouls

 

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่

คุณ กุลทิตตา
โทร : 065- 879-3554
Email : kultitta@valorhealth.co.th


แพทย์ผู้ทำการรักษา : นายแพทย์ พนัส บิณศิรวานิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน โสต ศอ นาสิก

ติดต่อสอบถามข้อมูล : หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกพิเศษโสต ศอ นาสิก อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ ชั้น 4 โซนคิว (Zone Q) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
เวลาทำการ : อังคาร 16.00 – 20.00 น., เสาร์ 9.00 – 12.00 น.

เบอร์โทรติดต่อ : 02-2004250

 

 

 

ตะกร้า
เริ่มพิมพ์เพื่อดูสินค้าที่คุณกำลังมองหา