อุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่แม่ส่วนใหญ่ต้องเจอ

คุณแม่ทราบดีว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อย แต่บางครั้งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็มักจะมีอุปสรรคที่เชื่อว่าคุณแม่ส่วนใหญ่ต้องเจออย่างน้อยไม่ข้อใดก็ข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

อาการเจ็บหัวนมหรือหัวนมแตก

สาเหตุของการเจ็บหัวนมหรือหัวนมแตกเกิดได้จาก 4 สาเหตุคือ

  1. แม่เอาลูกเข้าเต้าไม่ถูกวิธีทำให้ลูกอมแต่หัวนมทำให้เจ็บ
  2. ลูกมีปัญหาพังผืดใต้ลิ้น
  3. การถอนหัวนมออกจากปากลูกที่ผิดวิธี ที่ถูกต้องคือคุณแม่ต้องกดที่คางลูกเพื่อเปิดปากก่อนแล้วจึงถอนหัวนมออกจากปากลูก
  4. การทำความสะอาดหัวนมบ่อยเกินไป อาจเพราะความเข้าใจที่ผิดว่าต้องทำความสะอาดหัวนมโดยใช้สำลีเช็ดหัวนมก่อนเอาลูกเข้าเต้าทุกครั้ง ซึ่งการทำความสะอาดบ่อยเกินไปทำให้เกิดการเสียดสีและอาจเกิดแผลที่หัวนมได้ง่าย

วิธีการแก้หรือการรักษาหัวนมแตกคือ

  1. ให้ลูกดูดข้างที่ไม่แตกก่อนเพราะเวลาลูกหิว ลูกจะดูดแรงจนทำให้เจ็บมากขึ้น
  2. เปลี่ยนตำแหน่งที่ให้ลูกดูดโดยการเปลี่ยนท่าเช่นเปลี่ยนจากท่าอุ้มขวางก็เปลี่ยนเป็นอุ้มท่าฟุตบอลเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งปากลูกที่ดูด
  3. ใช้แผ่นเจลให้ความชุ่มชื้นมัลติแมม-คอมเพรซ (Multi-Mam Compresses) หลังให้ลูกดูดนมเพื่อบรรเทาอาการเจ็บหัวนม จะทำให้คุณแม่อยู่ในเส้นทางสายนมแม่ได้อย่างยั่งยืน
  4. รักษาแผลที่แตกโดยใช้น้ำนมแม่ 2-3 หยดทาบริเวณหัวนมและบริเวณลานนม เพราะน้ำนมแม่จะช่วยสมานแผลที่หัวนมแล้วสวมเสื้อยกทรงทุกครั้ง
  5. ใช้แผ่นเจลให้ความชุ่มชื้นมัลติแมม-คอมเพรซ (Multi-Mam Compresses) แปะไว้ 30 นาที – 1 ชั่วโมง ก่อนเอาลูกเข้าเต้า เพื่อลดอาการปวด อักเสบ ป้องกันการติดเชื้อ โดยไม่ต้องเช็ดหรือล้างก่อนเอาลูกเข้าเต้า เพราะการล้างหรือเช็ดบ่อย ๆ จะทำให้แผลหายช้า
  6. หยุดใช้เครื่องปั้มนมก่อน เพราะเครื่องปั้มนมบางเครื่องมีแรงดูดที่แรงจะยิ่งทำให้เจ็บ ให้ใช้วิธีการใช้มือบีบน้ำนมออกแทนหากมีอาการเจ็บคัดตึงเต้านม

 

เต้านมคัดแข็ง

เนื่องจากในช่วง 2-5 วันแรก เต้านมจะสร้างน้ำนมให้มากขึ้นเพื่อให้พร้อมสำหรับการเลี้ยงลูก แต่อาการเต้านมคัดแข็ง มีสาเหตุเกิดจาก

  • ร่างกายสร้างน้ำนมมากกว่าที่ลูกดูด
  • แม่เว้นระยะการให้ลูกดูดนมนานเกินไป
  • แม่ให้ลูกดูดนมได้ไม่ถูกวิธี

การแก้ไขคือ

  • ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบพันรอบเต้านมก่อนให้ลูกดูดนม 3-4 นาที
  • ผ้าชุบน้ำเย็นพันรอบเต้านมหลังลูกดูดนมหรือใช้น้ำแข็งพันผ้ามาประคบที่เต้านมโดยเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ อย่าจ่อนานเพราะจะเกิดแผลได้ง่ายเพราะผิวหนังส่วนนั้นค่อนข้างบาง เพื่อลดอาการปวด
  • ระหว่างลูกดูดคุณแม่คลึงเต้านมให้เต้านมอ่อนนิ่ม เพื่อให้ลูกดูดนมได้ง่ายขึ้น
  • ควรให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ คือดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมง

 

คุณแม่มีหัวนมที่ใหญ่

คุณแม่มีหัวนมที่ใหญ่และเต้าคัดแข็งจนทารกดูดนมแม่ไม่ได้เพราะเด็กที่เพิ่งคลอด ตัวจะเล็กและปากก็จะเล็กจนทำให้ลูกดูดนมได้ลำบาก แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะคุณแม่สามารถบีบน้ำนมใส่แก้วแล้วป้อนนมแม่ด้วยแก้วไปก่อนจนกว่าลูกจะงับลานนมและดูดถูกวิธีและมีแรงที่จะดูดมากขึ้นจึงค่อยให้ลูกดูดนมจากเต้าได้

ปวดเต้านม

สำหรับคุณแม่ที่มีอาการปวดเต้านม สามารถกินยาลดปวดเป็นยาพาราเซตามอลที่ไม่มีตัวยาชนิดอื่นผสมเพราะตัวยาบางตัวกินไปแล้วจะไปทำให้ลดการผลิตน้ำนม โดยให้กิน 1 เม็ดก่อนเอาลูกเข้าเต้า 15-30 นาที

เมื่อคุณแม่มีอาการข้างต้นที่กล่าวมา คุณแม่ไม่ควรใช้วิธีการหยุดให้ลูกดูดนมจากเต้าเพราะจะทำให้น้ำนมมีปริมาณลดลง ลูกดื่มมากปริมาณน้ำนมก็จะผลิตออกมามาก หากลูกไม่ได้ดื่มนมเลยก็จะทำให้นมผลิตน้ำนมน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้ท่อน้ำนมตัน เต้านมอักเสบ ซึ่งจะไม่เป็นผลดีกับทั้งคุณแม่และลูกน้อย ทางที่ดีควรปรึกษาคุณหมอหรือกุมารแพทย์เพื่อหาทางออกในปัญหาที่เกิดขึ้น

ตะกร้า
เริ่มพิมพ์เพื่อดูสินค้าที่คุณกำลังมองหา