Echotherapy

หนึ่งทางเลือกในการรักษาก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule)  “ก้อนยุบ หายไว ไร้แผล”

ECHOPULSE® อีกหนึ่งทางเลือกในการตรวจและรักษาไทรอยด์ (Benign Thyroid nodules)

ด้วยระบบการทำงานด้วยเทคนิค Echotherapy (การอัลตราซาวด์เพื่อหาตำแหน่งและตรวจรักษาโดยใช้คลื่นอัลตราซาวด์ความเข้มข้นสูง ด้วยหลักการใช้ความร้อนสลับกับความเย็น) ในการส่งผ่านความร้อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจง (Targeted tissue) โดยไม่ต้องผ่าตัด (Non invasive surgery)

Echopulse smooth

Echotherapy technology คืออะไร?

              เทคนิคการรักษารูปแบบใหม่ในการลดขนาดก้อนไทรอยด์ โดยใช้คลื่นอัลตราซาวด์ความเข้มข้นสูง (HIFU) พร้อมด้วยการมองเห็นทุกขั้นตอนการรักษาผ่านหน้าจอ monitor แบบ real time ทำให้แพทย์สามารถติดตามผลการรักษาได้อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้แพทย์ยังสามารถวางแผนและออกแบบการตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นของการรักษา ตลอดจนควบคุมการรักษาได้อย่างแม่นยำจนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการรักษาด้วยระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ (Working automatically by robotic technology)

ก้อนไทรอยด์จะถูกลดขนาดให้เล็กลงด้วยระบบการรักษาแบบ Sequential treatment (Pause & Pulse)  โดยการใช้ความร้อนจากคลื่นอัลตราซาวด์สลับกับการใช้ความเย็นจากระบบ Cooling system เพื่อป้องกันผลข้างเคียงต่อผิวหนังหรืออวัยวะข้างเคียงส่วนอื่นๆ ที่เกิดจากความร้อนที่ใช้ในการรักษา

ก้อนไทรอยด์แบบใดที่สามารถรักษาด้วยเครื่อง ECHOPULSE®

           ก้อนไทรอยด์แบบไม่เป็นพิษ (Benign thyroid nodule) ทั้งแบบชนิดก้อนเดียว (Single thyroid nodule) และ หลายก้อน (Multinodular goiter) โดยต่อมไทรอยด์ยังมีการสร้างฮอร์โมนได้ปกติ และต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธี ultrasound หรือ Fine needle aspiration (FNA) biopsy แล้วว่าไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นก้อนมะเร็ง หรือ มะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid cancer)

ผลการรักษาก้อนไทรอยด์ด้วยเครื่อง ECHOPULSE®

              มีผลการศึกษาวิจัยรองรับประสิทธิภาพการลดขนาดก้อนไทรอยด์ (Benign thyroid nodule) ด้วยวิธี Echotherapy technology  โดยจากการศึกษาพบว่า “สามารถลดขนาดก้อนไทรอยด์ลงได้ถึงร้อยละ 70.42 ในระยะเวลา 2 ปี และพบการกลับมาโตซ้ำ (regrowth) ของก้อนไทรอยด์ในอัตราที่ต่ำมาก การรักษาด้วยวิธี Echotherapy technology  จึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ทั้งในฝั่งยุโรป และเอเชีย

ประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับจากการรักษาด้วย ECHOPULSE®

  • การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด หมดกังวลเรื่องการเกิดแผล
  • รักษาและกลับบ้านได้ในวันเดียว ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • ป้องกันการเกิดผลข้างเคียงต่อผิวหนัง,อวัยวะข้างเคียงและฮอร์โมนต่างๆ
  • ฟื้นตัวได้เร็ว
  • คุณภาพชีวิตดีขึ้น กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ECHOPULSE® ปลอดภัยหรือไม่

              เนื่องจากการใช้ Echotherapy technology ไม่ใช่การผ่าตัด ดังนั้น จึงลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด ความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนและการสูญเสียฮอร์โมนหลังผ่าตัด นอกจากนี้ เนื่องจากไม่มีแผลจากการผ่าตัด จึงไม่ต้องนอนโรงพยาบาล และสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

รักษากับแพทย์แผนกใด

              Echotherapy technology  จัดได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยแพทย์ที่รักษาจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษเรื่องเทคนิคการรักษาด้วย Echotherapy โดยเฉพาะ ดังนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโสต ศอ นาสิก จะเป็นผู้ดูแลและดำเนินการรักษาหลัก

Echopouls

ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่อย่างไร

        ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมขนาดเล็กที่มีรูปร่างเหมือน ผีเสื้อ อยู่ที่คอใต้ลูกกระเดือกมีขนาดยาว 4 ซม. กว้าง 1-2 ซม. ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญคือ Tetraiodothyronine (thyroxin หรือ T4) และ Triiodothyronine (T3) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกายอุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึก รู้ได้อย่างไรว่าเป็นก้อนที่ต่อมไทรอยด์ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่อยู่ด้านหน้าลำคอ เมื่อผิดปกติจะโตขึ้น และเห็นเป็นก้อน บางครั้งก็เห็นเป็นก้อนเดี่ยวๆ บางครั้งก็โตเป็นลักษณะหลายๆก้อนติดกันแต่ที่สำคัญคือก้อนที่เกิดบนต่อมไทรอยด์ จะขยับเคลื่อนขึ้น-ลงเวลาเรากลืน

สาเหตุของก้อนที่ต่อมไทรอยด์

       แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ก้อนที่ไม่ใช่เนื้อร้าย และ ก้อนที่มีโอกาสเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง

โรคของต่อมไทรอยด์

  1. กลุ่มโรคต่อมไทรอยด์โตแบบเป็นพิษ หรือทำงานมากเกินไป (Hyperthyroidism)

              แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ชนิดโตทั่วไป (Graves’disease), ไทรอยด์เป็นพิษชนิดก้อนตะปุ่มตะป่ำ (Toxic multinodular), ไทรอยด์เป็นพิษชนิดก้อนเดี่ยว (Toxic nodule)                                                                                          ปัจจุบันเชื่อว่า ร่างกายมีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้มีการสร้างสารแอนติบอดีต่อตนเอง ซึ่งสารนี้ก็ไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น ก็จะสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนมากขึ้น  ผู้ป่วยจึงมีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายทำงานมากขึ้นและเร็วขึ้น กระบวนการเมตาบอลิสมสูงขึ้น  

  1. โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (Hypothyroidism)

              คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ ทำให้ระดับฮอร์โมนในเลือดมีค่าต่ำกว่าปกติ สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดหลังจากได้รับการรักษาด้วยการกลืนแร่ไอโอดีนหรือการผ่าตัดที่ต่อมไทรอยด์มาก่อน (Primary hypothyroidism)ส่วนสาเหตุส่วนน้อยเกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง(Secondary hypothyroidism)

  1. โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ (Thyroiditis)

ที่พบบ่อยมี 2 ชนิดคือ อักเสบกึ่งเฉียบพลันและอักเสบเรื้อรัง

ต่อมไทรอยด์อักเสบกึ่งเฉียบพลัน ( Subacute thyroiditis) มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส เช่น หวัด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ต่อมไทรอยด์โต คลำที่ต่อมไทรอยด์จะรู้สึกเจ็บ โรคนี้สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาสเตียรอยด์ ต่อมไทรอยด์จะยุบลงภายในเวลา 1-2 สัปดาห์  สามารถหายขาดได้ภายใน3-6 เดือน โดยต้องติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง ( Hashimoto thyroiditis) มีสาเหตุจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการคอโต กดไม่เจ็บ หรือมีประวัติคอโตแล้วยุบไปแล้วโดยไม่เคยรับการรักษามาก่อน  การวินิจฉัยทำโดยการตรวจแอนติบอดีในเลือด  การรักษาด้วยการรับประทานไทรอยด์ฮอร์โมนและติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

  1. โรคต่อมไทรอยด์โตแบบไม่เป็นพิษ (Thyroid nodule)

คือการที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้น แต่การสร้างฮอร์โมนยังปกติ มีทั้งชนิด ต่อมไทรอยด์โตก้อนเดียว(Single thyroid nodule) และ ต่อมไทรอยด์โตหลายก้อน(Multinodular goiter) โดยทั้งสองชนิดมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องตรวจด้วยวิธีการดูดเซลล์จากก้อนเนื้อไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง หลังจากนั้นจึงพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมต่อไป 

  1. โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid cancer)

มีทั้งชนิดที่มีความรุนแรงน้อยซึ่งรักษาหายขาดได้และชนิดรุนแรงมากจนถึงแก่ชีวิตได้ภายในระยะเวลาสั้น นอกจากนี้ยังมีชนิดที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งชนิดหลังนี้มักมีประวัติคนในครอบครัว และเกิดในคนอายุน้อย

  1. โรคของต่อมไทรอยด์ไม่ปรากฏอาการ

มี 2 ชนิด คือ ชนิดที่ทำงานน้อยเกินไป(Subclinical hypothyroidism) และชนิดที่ทำงานมากเกินไป(Subclinical hyperthyroidism) โดยที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติให้เห็น การวินิจฉัยด้วยวิธีการตรวจเลือดเท่านั้น ซึ่งมักพบเมื่อตรวจสุขภาพประจำปี

Thyroid nodule

เมื่อไหร่ควรได้รับการตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์

  1. มีอาการของฮอร์โมนไทรอยด์สูงหรือต่ำเกินไป ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น
  2. มีประวัติเคยตรวจเลือดแล้วพบความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมนมาก่อน
  3. มีประวัติได้รับการรักษาโรคไทรอยด์มาก่อน เช่น การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การกลืนแร่ไอโอดีน
  4. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไทรอยด์
  5. เป็นเบาหวานชนิดที่ 1
  6. มีภาวะมีบุตรยาก
  7. คอพอกหรือมีก้อนที่คอ

สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่

  • คุณ อริศรา  / โทร  065-532-2649
  • คุณ กุลทิตตา /โทร   065- 879-3554

 


 

 

 

ตะกร้า
เริ่มพิมพ์เพื่อดูสินค้าที่คุณกำลังมองหา