อาการเจ็บผ่าเท้าหรืออาการที่ตื่นมาตอนเช้า ๆ แล้วรู้สึกเจ็บส้นเท้าเวลาเดินจะรู้สึกเสียวอยู่ข้างใต้ฝ่าเท้า ซึ่งเรียกอาการดังกล่าวว่ารองช้ำหรือพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ ส่วนใหญ่มักเกิดกับคนที่
- ยืนเยอะลงน้ำหนักไปที่เท้ามาก หรือยืนเป็นเวลานาน
- น้ำหนักตัวมากเกินค่าเฉลี่ย
- คนที่มีรูปเท้าผิดปกติ
การดูแลและการแก้ไข
เมื่อเกิดอาการเจ็บหรือปวดเมื่อยฝ่าเท้าแนะนำให้ใช้แผ่นซิลิโคนรองเท้า Deramed Footcare ซึ่งเป็นแผ่นรองเท้าซิลิโคน Medical Grade 100% ที่มีความอ่อนนุ่ม สบายเท้า ให้สัมผัสที่นุ่มนวลและกระชับ ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดบริเวณกระดูกฝ่าเท้า, ส้นเท้า, สะโพกและเข่า ลดอาการเมื่อยที่มีสาเหตุจากการยืนและเดินเป็นระยะเวลานาน และเหทาะสำหรับผู้ที่เป็นโรครองช้ำ ซึ่งจะช่วยทำให้ยืนหรือเดินได้นานขึ้น รู้สึกสบายขึ้น และแผ่นซิลิโคนรองเท้า Deramed Footcare ยังได้มาตรฐานสินค้า CE “European Conformity” หรือมาตรฐานสินค้าที่ได้รับรองในเรื่องสุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมของยุโรป จึงมั่นใจได้ในเรื่องคุณภาพ ความคุ้มค่ากับราคา
การป้องกันและการบริหารฝ่าเท้า
เพราะการยืนนาน ๆ หรือการลงน้ำหนักไปที่ฝ่าเท้ามาก ๆ ทำให้เกิดการอักเสบที่ฝ่าเท้า ดังนั้นสิ่งที่ควรทำเมื่อเราต้องอยู่ในสภาวะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือการบริหาร นวด และยืดที่ฝ่าเท้าเพื่อให้มีความแข็งแรงขึ้น จะได้ไม่เกิดการอักเสบ
- การบริหาร
โดยการกระดกฝ่าเท้าขึ้นและลง ขั้นตอนคือนั่งลงไปบนพื้นแล้วเหยียดขาให้ตรงแล้วเกร็งฝ่าเท้าให้ปลายเท้างอกลับมาที่ตัวเราทำค้าง 10-15 นาที แล้วเกร็งฝ่าเท้าให้นิ้วเท้างุ้มลงไปที่ฝ่าเท้า เกร็งแบบนี้ค้างไว้อีก 10-15 นาทีเช่นกัน ทำครั้งละ 2-3 เซตต่อครั้ง ทำท่านี้ร่วมกับการหมุนข้อเท้าจากซ้ายไปขวา และจากขวาไปซ้ายข้างละ 15 ครั้งก็จะเป็นการช่วยบริหารข้อเท้าทำให้ข้อเท้าแข็งแรงขึ้นด้วย ทำท่านี้ทุก ๆ วันจะช่วยให้อาการปวดเมื่อยและเจ็บฝ่าเท้าค่อย ๆ ดีขึ้น
- นวดให้กล้ามเนื้อเท้าผ่อนคลาย
- นวดด้วยมือ
โดยการใช้มือจับที่แล้วแล้วใช้หัวแม่มือกดลงไปที่ฝ่าเท้ากดจุดค้างไว้ที่ 5-10 วินาที แต่ถ้ารู้สึกเจ็บก็กดค้างเพียง 2 วินาทีก็พอ การกดแบบนี้จะทำให้การนวดลงไปคลายถึงเส้นเอ็นด้านใน
- นวดด้วยลูกบอลขนาดเล็กหรือลูกปิงปอง
ใช้วิธีเดียวกันกับแบบนวดด้วยมือแต่เพิ่มโดยการเอาลูกบอลมารองมือแล้วออกแรงบีบ ค้างไว้ 5 – 10 นาที แรงที่ลงไปยังลูกปิงปองจะช่วยเพิ่มแรงบีบลงไปที่ฝ่าเท้ามากกว่าการใช้มือนวดอย่างเดียว หรือจะใช้วิธีการคลึงลูกบอลไปมาที่ฝ่าเท้าโดยคลึงจากทิศทางส้นเท้าไหลไปที่ปลายเท้าก็ได้เช่นกัน
- ยืด สามารถทำได้ทั้งท่านั่งและท่ายืน
- ท่านั่งยืด
โดยการนั่งบนพื้นหรือบนเก้าอี้แล้วใช้มือจับฝ่าเท้าแล้วพยายามเหยียดขาให้ตึงเท่าที่จะตึงได้ค้างไว้ 10- 15 นาที หากใครที่ไม่สามารถยืดให้ขาตึงได้ก็ไม่ต้องฝืน ใช้วิธีการค่อย ๆ ยืด เริ่มจากงอเข่า แล้วค่อย ๆ ปรับระยะความตึงของขาให้ยืดออกเรื่อย ๆ สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องหลังและเอวอาจจะต้องใช้ผ้าหรือสายรัดที่ฝ่าเท้าแทนการใช้มือจับฝ่าเท้าก็ได้เช่นกัน
- ท่ายืนยืด
เริ่มจากการยืนกางขาให้กว้างเท่าระดับหัวไหล่แล้วบิดเท้าไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้แล้วโน้มตัวไปทิศทางที่บิดปลายเท้าไป โน้มไปตัวไปข้างหน้าในมากเท่าที่จะมากได้แต่เท้าด้านหลังต้องแนบสนิทกับพื้นและขาต้องตึง ยืดค้างแบบนี้ 10 -15 วินาที ทำเซต ละ 3 ครั้ง ทุกวันจะช่วยให้อาการปวดเมื่อยฝ่าเท้าดีขึ้น
การปวดเมื่อยและเจ็บฝ่าเท้าสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย หากรู้ถึงสาเหตุแล้วใช้วิธีการรักษาที่ถูกวิธี รวมไปถึงป้องกันไม่ให้เกิดอาการโดยการบริหารกล้ามเนื้อให้เหมาะสม เชื่อว่าอาการปวดเมื่อยดังกล่าวจะหายไปแน่นอน