ช่วงต้นปียังอยู่ในฤดูหนาวที่อากาศปิด ทำให้ฝุ่นพิษ PM 2.5 สะสมในอากาศได้มากกว่า จนส่งผลร้ายต่อสุขภาพโดยเฉพาะในเด็กที่ภูมิต้านทานยังพัฒนาไม่ดี หากเด็กได้รับฝุ่นในปริมาณมากเกินจะไปสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทำให้การทำงานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องรีบระวังป้องกันไม่ให้ลูกได้รับฝุ่นอันตรายเหล่านี้ดีที่สุด
“เด็ก”เสี่ยงสูดฝุ่นอันตรายได้มากสุด
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยได้เคยออกมาเตือนคุณพ่อคุณแม่ว่า เด็กถือเป็นกลุ่มเสี่ยงและเปราะบางที่จะได้รับอันตรายจากฝุ่นพิษ PM 2.5 ได้มาก จึงแนะนำให้งดการพาลูกออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งในวันที่ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กสูงเกินกว่าระดับมาตรฐาน เพราะการได้รับอันตรายจากฝุ่น PM 2.5 จะส่งผลให้เด็ก ๆ ป่วยหนักและหายช้ากว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากระบบต้านทานมลพิษในเยื่อบุทางเดินหายใจ และระบบภูมิคุ้มกันร่างกายยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ สาเหตุมาจากเด็ก ตัวเล็ก หายใจเร็ว พฤติกรรมของเด็กที่ชอบเล่นในที่กลางแจ้ง มีโอกาสสูดรับฝุ่นปริมาณมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว ร่วมกับเด็กยังดูแลตัวเองได้ไม่ดีและมักจะไม่ใส่หน้ากากอนามัยสำหรับป้องกันฝุ่น
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ที่ยังไม่หมดไปในช่วงนี้ จึงอาจส่งผลกระทบต่อเด็กได้มากที่สุด ด้วยเพราะลักษณะทางกายภาพและพฤติกรรมตามวัยของเด็ก รวมทั้งระบบต้านทานมลพิษที่เยื่อบุทางเดินหายใจและระบบภูมิคุ้มกันยังเจริญไม่เต็มที่ เด็กจึงเป็นมีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับผลกระทบจากมลพิษทำร้ายสุขภาพได้มากกว่าผู้ใหญ่ ส่งผลให้เด็ก ๆ ป่วยหนักและหายช้ากว่าผู้ใหญ่เมื่อได้รับฝุ่น PM 2.5 จนทำให้เป็นอันตราย ส่งผลกระทบต่อร่างกายในระบบต่างๆ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงกับมีอาการรุนแรงได้ เช่น มีอาการแสบจมูก น้ำมูกไหล หายใจไม่สะดวก ไอ มีเสมหะ และเจ็บคอ เนื่องจากการสูดเอาฝุ่นละอองและควันพิษเข้าสู่ร่างกาย มีอาการระคายเคืองผิวหนัง เกิดเป็นผื่นคันบริเวณที่สัมผัสฝุ่น หากมีการสะสมฝุ่นพิษในระยะยาว จะส่งผลให้มีความผิดปกติด้านสติปัญญาและพัฒนาการ ทำให้ลูกมีพัฒนาการช้าลง มีภาวะสมาธิสั้น และมีภาวะออทิซึม และยิ่งสูดฝุ่นพิษเป็นเวลานาน จะมีผลกระทบระยะยาวกับปอด เป็นโรคปอดอักเสบ หอบหืด และโรคมะเร็งระบบทางเดินหายใจ ตลอดจนอาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในหลอดเลือด ซึ่งนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ และภาวะหลอดเลือดหดตัวได้ จึงมีข้อแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็กและคุณแม่ตั้งครรภ์ดังนี้
*ทารกในครรภ์มารดา มีการเจริญเติบโตและอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาอวัยวะต่างๆ เช่น ปอดและสมอง การได้รับมลพิษในช่วงนี้อาจส่งผลระยะยาวต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงมลพิษเป็นพิเศษโดยเฉพาะหญิงที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 6 เดือน
*ในเด็กปกติ ระดับคุณภาพอากาศที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพและกิจกรรมในชีวิตประจำวันคือ ระดับ AQI มากกว่า 100 หรือ PM 2.5 มากกว่า 50 มคก./ลบ.ม. 3.
*ในเด็กที่มีปัญหาทางระบบหายใจเรื้อรัง เช่น โรคหืด โรคปอดเรื้อรัง เยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้และโรคหัวใจ ระดับคุณภาพอากาศที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพและกิจกรรมในชีวิตประจำวันคือ ระดับ AQI มากกว่า 50 หรือ PM 2.5 มากกว่า 37 มคก./ลบ.ม. 4.
*ระดับคุณภาพอากาศในอาคารที่เหมาะสม คือ ระดับ AQI ไม่เกิน 50 หรือ PM 2.5 ไม่เกิน 37 มคก./ลบ. ม.
ปกป้องลูกจากฝุ่นร้ายให้ได้รอบด้าน
เมื่อระดับคุณภาพอากาศภายนอกเกินเกณฑ์มาตรฐาน ขอให้คุณพ่อคุณแม่ระมัดระวังและป้องกันไม่ให้ลูกต้องมาสูดฝุ่นอันตราย ด้วยวิธีการต่างๆ ตามคำข้อมูลคำแนะนำจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ดังนี้
- ไม่พาลูกไปสถานที่ต่างๆ ที่เสี่ยงทำให้ลูกได้รับฝุ่นพิษ PM 2.5 อาทิ ใจกลางเมือง ริมท้องถนน เข้าไปในเขตอุตสาหกรรม อยู่กลางที่โล่งแจ้ง หรือสวนกลางแจ้งในช่วงที่มีค่าฝุ่นสูง
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมนอกบ้าน ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด โดยระวังอย่าให้ ห้องร้อนเกินไป และไม่ให้คนในบ้านสูบบุหรี่ หรือจุดธูปในอาคาร
- ทารกหรือเด็กเล็กไม่แนะนำให้เดินทางออกนอกบ้าน แต่หากลูกโตกว่านั้น หากจำเป็นต้องออกจากบ้านในวันที่ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน ต้องสวมหน้ากากชนิด N95
- ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำ จะช่วยให้หายใจได้โล่งขึ้น ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
- หมั่นเช็ดทำความสะอาดบ้านและเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ถูพื้นโดยใช้ผ้าเปียก หรือผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ เป็นประจำ เพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง และลดการสะสมของฝุ่นละอองขนาดเล็กภายในบ้าน
- อาจพิจารณาใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองแบบ HEPA หรือแบบที่สามารถกำจัดฝุ่น PM 2.5 ได้ ไม่ควรใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศที่มีการผลิตโอโซน เพราะโอโซนปริมาณมากก็เป็นมลพิษได้
- อาจปลูกต้นไม้ใหญ้ไว้รอบบ้าน และวางกระถางต้นไม้ฟอกอากาศ เช่น ลิ้นมังกร กวักมรกต เฟิร์น ว่านหางจระเข้ ไว้ภายในบ้าน ก็สามารถช่วยกรองสารพิษและฝุ่นละอองขนาดเล็ก ฟอกอากาศให้สดชื่นขึ้นได้บ้าง
- หากพบว่าลูกมีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หรือมีผื่นคันขึ้นตามร่างกาย ให้รีบพาไปพบคุณหมอทันที
สเปรย์พ่นจมูกชนิดผง ไอเท็มใหม่! ขาดไม่ได้ช่วงที่มีฝุ่น PM 2.5
ใช้สเปรย์พ่นจมูกชนิดผง นาซัลลีซ พีเอ็ม ชีลด์ (Nasaleze PM Shield) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ให้คุณพ่อคุณแม่ใช้เป็นตัวช่วยป้องกันฝุ่นพิษไม่ให้เข้าสู่ร่างกายลูกน้อยได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติพิเศษต่างๆ นั่นคือ
- เป็นสเปรย์พ่นจมูกชนิดผงที่ผลิตจากสารสกัดธรรมชาติ 100% มีผงเซลลูโลส (HPMC) 95% และ ผงเลม่อน 5% ช่วยเคลือบ ดักจับและป้องกันฝุ่น PM 2.5 และสารมลพิษเข้าสู่เยื่อบุจมูกลูกรัก
- มีกลไกการออกฤทธิ์คือเปลี่ยนผงสเปรย์ให้เป็นเจลในจมูก เพื่อดักจับ ป้องกัน ไม่ให้ฝุ่น PM 2.5 และสารมลพิษในอากาศเข้าสู่เยื่อบุจมูก
- อ่อนโยนปลอดภัยต่อลูกน้อย ไม่มีส่วนผสมของยา ไม่มีผลข้างเคียง ไม่ทำให้ง่วงนอน ใช้ได้ตั้งแต่เด็กวัย 18 เดือนขึ้นไป และกลุ่มเปราะบางทั้ง ผู้สูงวัย คุณแม่ตั้งครรภ์ และคุณแม่ให้นมบุตร
- ผ่านการทดสอบทางคลินิก มีประสิทธิภาพช่วยจับฝุ่น PM 2.5 ได้ถึง 94% ยาวนาน 6 ชั่วโมง
- ออกฤทธิ์เร็วใน 2 นาที พ่นวันละ 2-3 ครั้ง หรือทุก 6-8 ชั่วโมง จะช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 และสารมลพิษเข้าสู่เยื่อบุจมูกลูกได้ตลอดวัน
- มั่นใจได้ ผ่านการรับรองจากอย. ใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์จาก อย. เลขที่ ฆพ.673/2564
- มีใบอนุญาตนำเข้าเครื่องมือแพทย์ เลขที่ GBR6304847
- มาตรฐานระดับสากล ผลิตในประเทศอังกฤษ ใช้แล้ว 50 ประเทศทั่วโลก
- พกพาสะดวก ให้ลูกใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา ควรใช้ก่อนเข้าไปในบริเวณที่มีฝุ่นละออง ฝุ่น PM 2.5 หรือมีมลพิษในอากาศสูง เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละออง(PM) เข้าสู่เยื่อบุจมูกของลูกน้อย
#Nasaleze #นาซัลลีซ #สเปรย์พ่นจมูกชนิดผง #NasalezePMShield #PM2.5
#สเปรย์พ่นจมูกดักจับฝุ่นขนาดเล็ก #MadeInEngland #ระวังของเลียนแบบ
#เพิ่มการ์ด #ExtraProtection #นวัตกรรมใหม่ #innovation #มลพิษ #อากาศเสีย
#ฝุ่นควัน #ควันท่อไอเสีย #pollution #วัณโรค #ปอดอักเสบ #เผาป่า #ไฟป่า
Line : @nasaleze (มี@ ด้านหน้าด้วยนะคะ) หรือ คลิก https://lin.ee/Iy3ufdh