ปวดเรื้อรัง ปวดเส้นประสาท อยากหาย ต้องผ่าตัดเท่านั้นจริงหรือ?
มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องทนกับอาการปวดข้อเรื้อรังทั้งที่ทราบและไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ตำแหน่งที่พบบ่อยมีทั้งบริเวณข้อเข่า กระดูกสันหลัง หัวไหล่ เป็นต้น ทั้งนี้อาการปวดก็มีความรุนแรงที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ระดับปวดน้อย จนถึงปวดมากและมีผลต่อชีวิตประจำวัน
การรักษามาตรฐาน ทำได้หลายวิธี เช่น
- การรักษาแบบประคับประคอง
- การรับประทานยาแก้ปวด ซึ่งมีตั้งแต่กลุ่มยาพาราเซตามอล ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาแก้ปวดกลุ่มมอร์ฟีน (Opioids) ยาลดความไวของปลายประสาท เป็นต้น
- การฉีดยา ซึ่งยาที่ใช้ฉีดมักเป็นยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือสารสังเคราะห์อื่น ๆ
- การกายภาพบำบัด
อย่างไรก็ตาม วิธีข้างต้นยังมีข้อจำกัด กล่าวคือ มักช่วยบรรเทาอาการปวดได้แค่ในระยะสั้น อีกทั้งการใช้ยาต่อเนื่อง ก็อาจมีผลต่อระบบการทำงานอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ทำให้ตับ ไต ทำงานหนักขึ้น และอาจติดยาแก้ปวดได้ ดังนั้นจึงอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดมาก และมีโรคประจำตัวหลายอย่างร่วมด้วย ส่วนการกายภาพบำบัดก็เป็นวิธีที่ผู้รับการรักษาจำเป็นต้องมารับโรงพยาบาลหลายครั้ง อย่างต่อเนื่อง
- การผ่าตัด
แม้การผ่าตัด จะได้ชื่อว่าเป็นการรักษาเพื่อให้โรคหายขาด แต่ก็มีความเสี่ยง หรือข้อจำกัดหลายประการ ทั้งความเสี่ยงจากการผ่าตัดเอง ความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ความเสี่ยงของการทำให้โรคประจำตัวกำเริบขึ้น ค่าใช้จ่ายสูง การพักฟื้นยาวนาน และ การดูแลหลังการผ่าตัด
ปวดหลัง สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
“หลัง” เป็นส่วนสำคัญของร่างกายที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวส่วนบน ตั้งแต่ศีรษะลำตัวแล้วผ่านลงไปยังช่วงล่าง มีข้อต่อเพื่อทำให้เกิดการเคลื่อนไหวและยังมีหน้าที่ในการปกป้องเส้นประสาทที่อยู่ภายใน กระดูกสันหลังประกอบไปด้วยกระดูก 30 ชิ้น แต่ที่เป็นส่วนสำคัญของอาการปวดหลังที่พบบ่อย คือ กระดูกสันหลังส่วนล่าง 5 ชิ้น ซึ่งต่อกับกระดูกกระเบนเหน็บ กระดูกสันหลังส่วนล่างนี้เชื่อมกันด้วยข้อต่อ และมีช่องระหว่างข้อให้ปลายประสาทผ่านออกมาเลี้ยงกล้ามเนื้อของเรา
กระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อโดยรอบมีหน้าที่รองรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบนเป็นโครงสร้างของร่างกายที่สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันเกือบทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน นั่ง หรือแม้แต่การนอนก็ตาม เมื่อไหร่ที่เกิดความผิดปกติก็จะนำมาซึ่ง อาการเจ็บปวดหลัง ปวดหลังร้าวลงขาอ่อนแรงชาเวลาเดินยืน ปวดคอร้าวลงสะบักหรือแขน ก็จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
5 สัญญาณอันตรายจากการปวดหลัง
- มีอาการปวดหลังติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์
- มีอาการปวดร้าวจากหลังลงไปที่ขา หรือเท้า
- มีอาการชา หรืออ่อนแรงของขา
- มีอาการปวดหลัง จากการได้รับอุบัติเหตุ
- มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น น้ำหนักลด เบื่ออาหาร
แนวทางการรักษา มีหลายวิธี ได้แก่
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เพื่อลดอาการปวดเป็นหลัก (Pain Management) โดยการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ให้ได้ผลดี มีความเสี่ยงน้อย แต่จะเป็นการรักษาอาการปวดที่ไม่รุนแรงและเป็นวิธีแบบประคับประคองในระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น
- การทำกายภาพบำบัด เป็นหนึ่งเครื่องมือที่สำคัญในการรักษาโรคปวดหลังแบบไม่ผ่าตัด เช่น การประคบร้อน การทำ Ultrasound, Laser, Shockwave Therapy, การบริหารกล้ามเนื้อที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดอาการปวดหลังในอนาคต
- การรักษาด้วยยา ได้แก่ ยาลดอาการปวดและอักเสบของกล้ามเนื้อ (NSAIDS) ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาสำหรับลดอาการปวดจากปลายประสาท
- การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงหลัง (Back Support or Brace) การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงหลังสำหรับอาการปวดหลัง มักมีประโยขน์ในระยะสั้น สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายมากขึ้น อาการปวดลดลง
- การทำหัตถการบริเวณกระดูกสันหลัง เช่น การฝังเข็ม การฉีดยาบล็อกกล้ามเนื้อ (Trigger Point) การฉีดยาบล็อกข้อต่อ Facet การฉีดยาเข้าโพรงเส้นประสาท (Epidural Steroid Injection) โดยประโยชน์ของการทำหัตถการ คือ ลดอาการปวด และช่วยยืนยันการวินิจฉัย
การรักษาแบบผ่าตัด
การรักษาอาการปวดหลังด้วยวิธีการผ่าตัด อาจพิจารณาผ่าตัดในผู้ป่วยที่อาการไม่ทุเลาจากการรักษาแบบไม่ผ่าตัดเป็นเวลาอย่างน้อย 6-12 สัปดาห์ หรือในผู้ป่วยที่มีการทำงานของเส้นประสาทที่เสียไป เช่น กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง การทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดควบคุมการขับถ่ายเสียไป เป็นต้น
มีวิธีอื่นที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้อีกหรือไม่?
“Cooled RF เป็นทางเลือกใหม่ในการรักษา ลดความเสี่ยง และบรรเทาอาการปวดได้เป็นอย่างดี “โดยสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ยาวนาน 1-2 ปี”
Cooled RF คืออะไร
เครื่องมือที่ใช้ในการส่งผ่านความร้อนในรูปแบบคลื่นวิทยุ (Radiofrequency, RF) ซึ่งเป็นคลื่นเสียงความถี่สูง ไปยังเส้นประสาทบริเวณที่เป็นสาเหตุของอาการปวด ทำให้เส้นประสาทนั้น ๆ ถูกรบกวน จึงไม่สามารถส่งสัญญาณความรู้สึกเจ็บปวดจากบริเวณนั้นไปยังสมองได้ ทำให้ผู้ได้รับการรักษารู้สึกปวดน้อยลงหรือไม่รู้สึกปวดเลย
Cooled RF มีหลักการทำงานอย่างไร
จากหลักการทำงานที่มีส่งผ่านคลื่นวิทยุหรือคลื่นเสียงความถี่สูงไปยังเส้นประสาทบริเวณที่ปวด แพทย์จะดำเนินการสอดเข็มขนาดเล็กไปยังตำแหน่งที่ต้องการรักษา เพื่อทำให้เกิดความร้อนและรบกวนการทำงานของเส้นประสาทบริเวณนั้น ใช้เวลารักษาเพียง 30-40 นาที เท่านั้น
Cooled RF : คลื่น RF สามารถครอบคลุมพื้นที่ของกลุ่มเส้นประสาทได้เป็นวงกว้าง จึงรบกวนการส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมองได้เพิ่มขึ้นและยาวนาน ทำให้คนไข้ปวดลดลง
รวมถึงหลีกเลี่ยงการให้ปลายเข็มเข้าใกล้เส้นประสาทมากเกินไป Coolief จึงมีความปลอดภัยและให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
ให้ผลการรักษาเป็นอย่างไร
มีผลการศึกษาวิจัยรองรับประสิทธิภาพการบรรเทาปวดจากการรักษาด้วย Cooled RF ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทางการแพทย์ในระดับนานาชาติมากมาย เช่น จากการศึกษาพบว่า “Cooled RF สามารถลดอาการปวดรุนแรงได้มากกว่าร้อยละ 80 และบรรเทาอาการปวดได้นานถึง 1-2 ปี การรักษาด้วย Cooled RFจึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย”
ปลอดภัยหรือไม่?
เนื่องจากการใช้ Cooled RF ไม่ใช่การผ่าตัด ดังนั้น จึงลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด ความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ความเสี่ยงจากการกำเริบของโรคประจำตัว ผู้มีโรคประจำตัวเช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หอบหืด โรคไต สามารถรับการรักษาด้วยวิธีนี้ได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ยังลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและการเกิดแผล ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล และสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
รักษากับแพทย์แผนกใด
Cooled RF จัดได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการระงับปวด (Pain Intervention Specialist) และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ (Orthopedic surgeon) จะเป็นผู้ดูแลและดำเนินการรักษาหลัก
Cooled RF เป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาอาการปวดข้อเรื้อรัง ลดความเสี่ยง และบรรเทาอาการปวดได้เป็นอย่างดี โดยสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ยาวนานถึง 2 ปี
แพทย์ผู้ทำการรักษา: นายแพทย์ ศรันย์ ไพรัชเวทย์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ ความชำนาญเฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง
แผนกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา
เวลาทำการ : วันจันทร์ เวลา 17.00-19.00 น. ,ศุกร์ เวลา 15.00-17.00 น.
เบอร์โทรติดต่อ : 038-320300 ต่อ 4140, 4141
แผนกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี
เวลาทำการ : วันอาทิตย์ เวลา 9.00-13.00 น.
เบอร์โทรติดต่อ : 033-038877
แผนกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา
เวลาทำการ : วันพฤหัสบดี เวลา 17.00-20.00 น.
เบอร์โทรติดต่อ : 038-317333 ต่อ เบอร์ 4115 ตามเวลา 08.00-19.00 น.
แพทย์ผู้ทำการรักษา: นายแพทย์ นโรตน์ ตรีณรงค์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ ความชำนาญเฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์กระดูกสันหลังและการผ่าตัดส่องกล้อง
แผนกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
ติดต่อสอบถามข้อมูล : คุณ เรวดี เปาะทองคำ
เบอร์โทรติดต่อ : 094-4663559, 076-254425 ต่อ 8335, 3744, 3745
เวลาทำการ : วันจันทร์-พฤหัส, อาทิตย์ เวลา 9.00-16.00 น.
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่
คุณ อริศรา
โทร : 065- 532-2649
Email : arisara.valorhealth@gmail.com
คุณ กุลทิตตา
โทร : 065- 879-3554
Email : kultitta@valorhealth.co.th
#CooledRF #ปวดเข่า #ปวดหลัง #ผ่าเข่า #รักษาอาการปวด #เข่าเสื่อม #รักษาอาการปวดเข่า #ไม่ต้องผ่าเข่า #รักษาอาการปวดเรื้อรัง #CooledRadiofrequency
Tel : 065- 879-3554
Facebook : Cooled RF