เช็กดูสิในบ้านมีคนนอนกรนอยู่หรือไม่? เพราะถ้าใครกรนเสียงดัง ตื่นมาเหมือนนอนไม่พอ คอแห้ง แสดงว่ามีปัญหาจากโรคภูมิแพ้ ซึ่งหากไม่รักษาแก้ไขหรือป้องกันให้ถูกต้องอาจทำให้ถึงขั้นหยุดหายใจมีอันตรายต่อชีวิต รู้แล้วอย่าปล่อยไว้! รีบหาทางป้องกันไม่ให้ภูมิแพ้กำเริบได้ง่ายและรักษาอาการให้ดีขึ้นในเร็ววัน
นอนกรนกับภูมิแพ้ ปัญหามาคู่ รีบรู้รักษา
ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นได้มากทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ คือ “การนอนกรน” ซึ่งเกิดจากการเป็นโรคภูมิแพ้หรือติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนบ่อยๆ แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ทำให้ต่อมทอนซิลที่คอและต่อมอะดีนอยด์ที่อยู่หลังโพรงจมูกโตขึ้น และอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน เวลานอนหลับจึงมีเสียงกรนหรือเสียงหายใจดัง ถ้าเป็นมากอาจมีการหายใจติดขัดจนถึงขั้นหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายซึ่งอาจเป็นอันตรายเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับจนถึงกับเสียชีวิตได้ ซึ่งคนที่เป็นภูมิแพ้นั้นปกติก็มักจะมีอาการแพ้กำเริบเมื่อได้รับสารภูมิแพ้ ทำให้มีปัญหาทางเดินหายใจ คือ มีน้ำมูกไหล จาม และอาการคัดแน่นจมูก ที่ทำให้หายใจลำบาก ยิ่งหากเวลานอนยิ่งทำให้มีอาการภูมิแพ้ที่ส่งผลทำให้การหายในเวลานอนมีปัญหา ดังนั้นไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ที่เป็นภูมิแพ้ จำเป็นจะต้องป้องกันภูมิแพ้ไม่ให้กำเริบเรื้อรัง จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันทุกด้านรวมถึงการนอน และรีบทำการรักษาอย่างถูกต้องตั้ง แต่เนิ่นๆ
นอนกรนอันตราย! เกิดได้สารพัดโรค มาดูกันว่าอาการนอนกรนมีแบบไหนบ้าง ดังนี้
1. กรนธรรมดา (primary snoring) หมายถึงอาการกรนเสียงดัง แบบไม่อันตราย เพราะไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย หรือหอบหายใจเข้าไปเหมือนคนหายไม่สะดวก ผู้ที่กรนแบบนี้มักจะไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพมากนัก แต่จะมีผลกระทบต่อคนรอบข้าง ทำให้เกิดปัญหาต่อคู่นอน และในการเข้าสังคมเมื่อต้องนอนร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน นอนไม่หลับจากเสียงกรนได้
2. ภาวะก้ำกึ่งระหว่าง กรนธรรมดา และกรนอันตราย (upper airway resistance syndrome) คือผู้ที่มีอาการนอนกรนเสียงดัง แต่มีบางครั้งที่มีอาการคล้ายหายใจไม่สะดวกร่วมด้วย
3. ภาวะกรนอันตราย (obstructive sleep apnea) ได้แก่ผู้ที่มีอาการกรนเสียงดัง ร่วมกับมีอาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คือมีเสียงนอนกรนหยุดเป็นบางช่วงแล้วตามด้วยเสียงหายใจเฮือก แสดงถึงการหยุดหายใจและเริ่มหายใจอีกครั้ง หรือบางครั้งผู้ที่กรนอันตรายนี้จะสะดุ้งตื่นขึ้นมาได้ เนื่องจากการหายใจที่ขาดช่วง เป็นช่วงสั้นๆ หรือหายใจเฮือก ภาวะกรนอันตรายนี้จะทำให้มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ซึ่งนอกจากจะมีผลกระทบเรื่องของเสียงดังต่อคนรอบข้างแล้ว หากไม่รักษาอาจมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน (excessive daytime sleepiness) ทำให้เรียนหรือทำงานได้ไม่เต็มที่ ยิ่งถ้าต้องขับรถอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ นอกจากนี้จะมีอัตราเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (coronary artery disease) ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (cardiac arrhythmia) โรคความดันโลหิตในปอดสูง (pulmonary hypertension) โรคหลอดเลือดในสมอง (cerebrovascular disease) ที่สำคัญคือหากใครมีอาการนอนกรนหยุดหายใจบ่อยๆ แบบนี้อาจมีอายุสั้นหรือเสียชีวิตได้เร็วกว่าปกติจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยเฉพาะหากมีดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่วเบา [apnea-hypopnea index (AHI)] อยู่ที่ ≥ 20 ต่อชั่วโมง
จะรู้ได้อย่างไรว่านอนกรนแบบไหน
ทำได้โดยการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินหายใจส่วนบน (upper airway endoscopy) จะทำให้ทราบถึงตำแหน่ง และสาเหตุของการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนได้ รวมทั้งวิธีที่นิยมคือการตรวจการนอนหลับ (sleep test or polysomnography) เพื่อตรวจการนอนหลับว่ามีภาวะการนอนกรนแค่ไหน? และมีดัชนีการหายใจอย่างไรบ้าง เช่น
– กรนธรรมดา: คือมีดัชนีของการหยุดหายใจ และหายใจแผ่วเบา < 5 ครั้งต่อชั่วโมง
– ภาวะก้ำกึ่งระหว่าง กรนธรรมดา และกรนอันตราย: ถ้าดัชนีหยุดหายใจ และหายใจแผ่วเบา < 5 ครั้งต่อชั่วโมง แต่มีดัชนีของการตื่น (arousal index) สูง และมีอาการเหมือนกรนอันตราย
– กรนอันตราย: ถ้าดัชนีหยุดหายใจ และหายใจแผ่วเบา ≥ 5 ครั้งต่อชั่วโมง โดยมีระดับความรุนแรงดังนี้
การรักษา มี 2 ทางเลือกคือ การไม่ผ่าตัดและการใช้วิธีผ่าตัด ซึ่งสามารถเลือกได้ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงในการนอนกรนของผู้ป่วย โดยวิธีผ่าตัดนั้นมีจุดประสงค์เพื่อทำให้ขนาดของทางเดินหายใจส่วนบนกว้างขึ้น ทำให้อาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับลดน้อยลง ส่วนใหญ่มักจะใช้ในผู้ป่วยได้ที่ได้ลองวิธีการใช้อุปกรณ์ช่วยในการนอนกรนแล้วไม่ได้ผล ซึ่งการผ่าตัดจะทำมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งและสาเหตุของการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน การผ่าตัดไม่ได้ทำให้อาการนอนกรน และ/หรือภาวะหยุดหายใจหายขาด หลังผ่าตัดอาการนอนกรนและ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจยังเหลืออยู่ หรือ มีโอกาสกลับมาใหม่ได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
ส่วนวิธีรักษาการนอนกรนโดยไม่ผ่าตัดนั้นก็สามารถทำได้ เนื่องจากปัจจุบันมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ช่วยให้อาการนอนกรนบรรเทาหรือดีขึ้นได้ เช่น การใช้เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน [continuous positive airway pressure (CPAP)] การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก และอื่นๆ ดังนั้นหากหมั่นดูแลสุขภาพลูกรักและคนในบ้าน รวมถึงการใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่มีประโยชน์ไม่ให้มีอาการภูมิแพ้กำเริบจากสารก่อภูมิแพ้ ที่ไปกระตุ้นอาการต่างๆ จนทำให้มีภาวะนอนกรนรุนแรงมากขึ้น ก็จะทำให้สามารถรักษาทั้งอาการภูมิแพ้ให้บรรเทาลงและไม่กระตุ้นไม่ให้มีอาการนอนกรนจนเป็นอันตรายได้
วิธีบรรเทาและแก้ปัญหานอนกรนจากภูมิแพ้
1. ปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยตรวจปัญหาการนอนกรน ทดสอบการนอนหลับ เพื่อจะได้รู้ถึงความรุนแรงของการนอนกรน ตรวจสอบหาสาเหตุ และควบคุมอาการไม่ให้เรื้อรังรุนแรง รวมถึงการพิจารณาวิธีการทางทันตกรรมที่จะช่วยยึดขากรรไกรบนและล่างเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยลดอาการกรนให้น้อยลงได้ และวิธีการผ่าตัด
2. ใช้อุปกรณ์ช่วยเวลานอน สำหรับหลายๆ คนอาจจะรู้จักอุปกรณ์ช่วยในการนอนหลับสำหรับคนที่นอนกรน ซึ่งมีขายอยู่ในปัจจุบัน นั่นคือ เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน หรือที่เรียกว่า เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) ซึ่งจะช่วยทำให้อาการหยุดหายใจขณะหลับดีขึ้นได้ เพราะปกติเวลาคนเรานอน เพดานอ่อน และลิ้นไก่ที่ยาว และโคนลิ้นที่โต จะตกลงมาบังทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบ ลมที่เป่าเข้าไปจากเครื่องจะไปถ่างทางเดินหายใจให้กว้างออก (pneumatic splint) ทำให้ไม่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ ผู้ที่กรนก็จะไม่กรนและไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหานอนกรนธรรมดา หรือภาวะก้ำกึ่งระหว่าง กรนธรรมดา และกรนอันตราย หรือเป็นกรนอันตรายที่มีความรุนแรงอยู่ในระดับน้อยถึงรุนแรง
โดยปัจจุบันตัวเครื่อง CPAP มีขนาดเล็ก สามารถพกพา ได้ค่อนข้างสะดวก แต่อาจรู้สึกอึดอัดบ้างในช่วงแรกเพราะต้องใส่ๆ ถอดๆ เมื่อมีความชินก็จะใส่ได้ง่ายขึ้น แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ผู้ที่กรนควรจะต้องใช้เครื่อง CPAP ทุกคืน คืนใดไม่ใช้ก็จะมีอาการกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับอีกได้
3. ใช้สเปรย์พ่นจมูกชนิดผง ป้องกันสารก่อภูมิแพ้ที่ต้นเหตุ ด้วย สเปรย์พ่นจมูกชนิดผง นาซัลลีซ อัลเลอจี บลอคเกอร์ (Nasaleze Allergy Blocker) และ สเปรย์พ่นจมูกชนิดผง นาซัลลีซ ชิลเดรน อัลเลอจี บลอคเกอร์ ( Nasaleze Children Allergy Blocker) สามารถป้องกันสารก่อภูมิแพ้ ไม่ให้เข้าสู่เยื่อบุในจมูกได้ รวมทั้งยังใช้ร่วมกับยาพ่นจมูก ยาแก้แพ้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันและลดอาการภูมิแพ้ ด้วยคุณสมบัติสำคัญคือ
- ผลิตจากสารสกัดธรรมชาติ 100% มีส่วนประกอบของผงเซลลูโลส (HPMC) 98.5% ผงเปเปอร์มินต์ 1.5% ใน นาซัลลีซ อัลเลอจี บลอคเกอร์ และผงเซลลูโลส (HPMC) 97% และผงสตรอว์เบอร์รี่ 3% ใน นาซัลลีซ ชิลเดรน อัลเลอจี บลอคเกอร์ ที่มีประสิทธิภาพป้องกันสารก่อภูมิแพ้ในอากาศไม่ให้เข้าสู่เยื่อบุจมูก จนมีอาการแพ้กำเริบได้
- เปลี่ยนผงสเปรย์เป็นเจลใสในจมูก เพื่อดักจับและป้องกันสารก่อภูมิแพ้ในอากาศไม่ให้เข้าสู่เยื่อบุจมูก
- มีกลไกช่วยลดการแตกตัวของแกรนูลในแมสเซลล์ ลดการหลั่งฮีสตามีน สามารถป้องกันการเกิดอาการภูมิแพ้หรือแพ้อากาศได้
- ผ่านการทดสอบทางคลินิกมากกว่า 35 การศึกษา ในผู้ป่วยมากกว่า 1,000 คน มีผลการศึกษายืนยันประสิทธิภาพในการลดอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล
- ได้รับการแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ เป็นส่วนหนึ่งในแนวทางการป้องกันโรคภูมิแพ้ ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทางการแพทย์ชั้นนำหลายฉบับ รวมถึงได้รับรางวัลต่างๆ
- ผลิตในประเทศอังกฤษ ใช้แล้วกว่า 50 ประเทศทั่วโลก สมาคมโรคภูมิแพ้แห่งสหรัฐอเมริกา (American Academy of Allergy Asthma & Immunology) ได้ระบุว่าเป็นตัวป้องกันสารก่อภูมิแพ้ (Allergen blocker) ได้
- ออกฤทธิ์เร็วใน 2 นาที พ่นเพียง 1 ครั้ง สามารถป้องกันสารก่อภูมิแพ้ได้ถึง 6 ชั่วโมง พ่นวันละ 2-3 ครั้ง ช่วยป้องกันสารก่อภูมิแพ้ในอากาศเข้าสู่เยื่อบุจมูกได้ตลอดวัน
- ปลอดภัย ไม่ใช่ยา ใช้ได้กับลูกวัยตั้งแต่ 18 เดือนขึ้นไป คุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร ไม่มีผลข้างเคียง
- ผ่านการตรวจสอบ ได้รับใบอนุญาตโฆษณาเครื่องมือแพทย์จาก อย. เลขที่ ฆพ.673/2564
- มีใบอนุญาตนำเข้าเครื่องมือแพทย์ เลขที่ GBR6304847
สามารถใช้ร่วมกับยาพ่นจมูกหรือยาภูมิแพ้ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการจมูกอักเสบภูมิแพ้รุนแรงหรือมีอาการแพ้อากาศเกิดขึ้น
4. การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก โดยพ่นวันละครั้งก่อนนอน ซึ่งยาชนิดนี้จะทำให้เยื่อบุจมูกที่บวมยุบลง ทำให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น และยังจะช่วยหล่อลื่นทำให้การสะบัดตัวของเพดานอ่อนและลิ้นไก่น้อยลง ทำให้เสียงกรนเบาลงได้
5. การลดน้ำหนักและออกกำลังกาย จะช่วยไม่ให้มีไขมันมาพอกรอบคอหรือทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบลง เมื่อลดน้ำหนักได้จะทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนกว้างขึ้น มีอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับน้อยลง โดยทั่วไปถ้าลดน้ำหนักได้ 10% อาการนอนกรน และหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับจะดีขึ้นประมาณ 30% ส่วนการออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน จะมีส่วนช่วยเพิ่มความตึงตัวให้กับกล้ามเนื้อบริเวณคอหอย ทำให้มีการหย่อนและอุดกั้นทางเดินหายใจน้อยลงเพราะเมื่ออายุมากขึ้น เนื้อเยื่อในทางเดินหายใจส่วนบนจะหย่อนมากขึ้นได้ตามอายุ จนทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบมาก จนนอนกรน และมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากขึ้นด้วย และสุดท้ายคือการงดสูบบุหรี่ งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะจะส่งผลต่อการนอนได้
#ติดเชื้อทางเดินหายใจ #หวัด #ไข้หวัดใหญ่
#Nasaleze #นาซัลลีซ #สเปรย์พ่นจมูกชนิดผง #NasalezeAllergyBlocker #AllergyBlocker
#สเปรย์พ่นจมูกดักจับสารก่อภูมิแพ้ #MadeInEngland #เพิ่มการ์ด #ExtraProtection #นวัตกรรมใหม่ #innovation #ภูมิแพ้ #สารก่อภูมิแพ้
#แพ้ไรฝุ่น #แพ้ขนสัตว์ #แพ้เกสรดอกไม้ #แพ้อากาศ #ตัวช่วยห่างไกลภูมิแพ้#ป้องกันภูมิแพ้ตั้งแต่จมูก #บอกลาภูมิแพ้ #ลาออกจากการเป็นภูมิแพ้ #เกราะป้องกันภูมิแพ้
#หวัดป้องกันได้ #เชื้อโรคลอยในอากาศ#นาซัลลีซ #สเปรย์พ่นจมูก #ไม่ใช่ยา #ดักจับเชื้อโรค
#นาซัลลีซทราเวล #ExtraProtection #Germblocker #Invisible_mask #ป้องกันดีกว่ารักษา
Line : @nasaleze (มี@ ด้านหน้าด้วยนะคะ) หรือ คลิก https://lin.ee/Iy3ufdh